วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทความ 5 บทความที่เกี่ยวกับสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

    บทความที่ 1 สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย

     สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย (Media and playing materials for the preschooler) เป็นผลพวงของความเจริญก้าว หน้า และศักยภาพในการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดเป็นผลผลิตทางการเรียนรู้ให้แก่มนุษย์ชาติ เด็กปฐม วัยคือคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รอดผลจากผลกระทบทั้งหลายเหล่านั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องหันมาให้ความสนใจ และคิดใคร่ครวญถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ในการร่วมเรียนรู้ พัฒนา และสนับสนุน ส่งเสริมการใช้สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ เพื่อพัฒนาเด็กทั้งรายบุคคลและในระบบกลุ่มสื่อและเครื่องเล่นโดยทั่วไปแล้ว มีคุณค่าในการเสริมสร้างพัฒนาทักษะพื้นฐานแก่เด็กในหลากหลายด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมถึงความเข้าใจในการทำหน้า ที่ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย เสริมจิตนาการและทักษะการสื่อสารระหว่างเพื่อนมนุษย์รอบๆตัวสื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ในปัจจุบันนี้ มักปรากฏให้เห็นในรูปแบบดิจิตอลอนาล็อก โปรแกรม แอพพลิเคชั่น ที่ใช้ประกอบฮาร์ดแวร์ เช่น เครื่องโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตอีบุ๊คส์ หรือโปรแกรมทีวีออนไลน์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งาน สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆแก่เด็ก อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการเรียนรู้แบบดั้งเดิมเช่น การวาดภาพระบายสี การตัดแปะกระดาษต่างๆ ก็ยังมีความสำคัญ และเป็นกิจกรรมการพัฒนาหลักๆที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กใช้อวัยวะร่างกาย เช่น ลำแขน ฝ่ามือ และอวัยวะอื่นๆ ทำงานร่วมกันในการสร้างชิ้นงาน ตามความคิด ซึ่งสื่อยุคใหม่จะสามารถเข้ามาเติมเต็มให้เกิดผลผลิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ เช่นการสร้างรูปด้วย กล้องดิจิตอล วีดีโอ โทรศัพท์มือถือ เทปบันทึกเสียง ที่สร้างความบันเทิง ร่วมกับเสนอตัวช่วยในการสร้างชิ้นงานจากจิตนาการสร้างสรรค์ของแต่ละคน

ที่มา http://taamkru.com/th/สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย


บทความที่ 2   กิจกกรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                 ภาษาเป็นการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการสื่อด้วยภาษาสัญลักษณ์มากกว่าการพูดหรือเขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบที่เด็กแสดงออกมาที่สุดคือ ศิลปะ  การเคลื่อนไหวร่างกาย  ดนตรี  การพูด และตามด้วยกรเขียน  การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นแรงขับดัน(Drive) ภายในตนประสานกับปฏิสัมพันธ์ (Interaction)กับบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับ
    สิ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาให้กับเด็กคือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กดังนี้
    * พัฒนาการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการพูด  การฟัง  ซึ่งหมายถึงความสามารถของการได้ยิน การบอกซ้ายขวา การให้เด็กแสดงออกของท่าทางตามคำศัพท์ เป็นต้น
    * พัฒนาการทางสังคม การให้เด็กพูด เด็กเล่าหรือตอบคำถาม ในการสร้างความกล้าของเด็กในการมีปฏิสัมพันธ์ แต่ถ้าเด็กพูดน้อยจะมีปัญหา
    * พัฒนาทางอารมณ์ มีผลต่อเด็กทั้งทางด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะเด็กขี้อาย ขาดความมั่นใจ เด็กควรได้แสดงความสามารถทางภาษาที่เด็กอิสระทีสุด คือ การวาดภาพ ดนตรี
    * พัฒนาทางปัญญา สมองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางภาษาและปัญญา การได้พูดได้แสดงออกเป็นการฝึกการรับรู้และพัฒนาทางภาษา กิจกรรมทางภาษาที่จัดให้กับเด็กต้องเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กเกิดมโนทัศน์ของคำ ฝึกการใช้เสียง การพูด การแต่งประโยค การตอบคำถามและการเล่าเรื่อง
     กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาของเด็กจะต้องมีหลากหลายและกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาภาษาได้โดยตรง เช่น
     - กิจกรรมรักการอ่าน สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือและการใช้หนังสือ
     - กิจกรรมเล่าเรื่อง
     - กิจกรรมวาดภาพเป็นเรื่อง
     - กิจกรรมนิทานบทบาทสมมุติ
     - กิจกรรมการฟัง เช่น ปฏิบัติตามคำสั่ง ซ้าย-ขวา
     - กิจกรรมสนทนา
     - กิจกรรมการเขียน
     - กิจกรรมบอกชื่อ
     - กิจกรรมเรียงตัวพยํญชนะ
     - กิจกรรมหนังสือเล่มน้อยของฉัน  

ที่มา http://soavaluc.igetweb.com/articles/442862/กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย.html

บทความที่ 3 กิจกรรมพัฒนาการฟังสำหรับเด็กปฐมวัย
       เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาจากการฟังแล้วเลียนแบบเสียง  เลียนแบบการใช้คำ  ซึ่งนำไปสู่การพูด การฟังเบื้องต้นของเด็กในโรงเรียนเป็นการฟัง คำพูด ฟังเสียงดนตรี ฟังเสียงธรรมชาติและฟังเรื่องราวโดยเฉพาะนิทาน แล้วฝึกการถ่ายทอดด้วยการบอก การถาม การสนทนา และการเล่าเรื่อง ซึ่งการฟังนอกจากจะช่วยให้เด็กพัฒนาแล้วยังสร้างความเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยลักษณะของการฟังอาจเป็นการฟังจับเรื่อง  การฟังอย่างซาบซึ่ง การฟังเพื่อการวิเคราะห์ หรือการฟังเพื่อรู้และเข้าใจ
       การฟังของเด็กเป็นการรับรู้เรื่องราวด้วยประสาทสัมผัสทางหูที่เด็กสะสมและนำไปสร้างเสริมพัฒนาการทางภาษามากกว่าการใช้เพื่อพัฒนาปัญญา เด็กจะเก็บคำพูด จังหวะ เรื่องราว จากสิ่งที่ฟังมาสานต่อเป็นคำศัพท์ เป็นประโยคที่จะถ่ายทอดไปสู่การพูด ถ้าเรื่องราวที่เด็กได้ฟังมีความชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ เด็กจะได้คำศัพท์และมีความสามารถมากขึ้น พัฒนาการด้านการฟังของเด็กตามวัยเป็นดังนี้
       อายุ 2 ขวบ ชอบฟังคำพูดสั้นๆ จูงใจ  ฟังเรื่องสั้นๆ และเพลงกล่อมเด็กวัยนี้ชอบคำซ้ำและเลียนแบบเสียง
       อายุ 3 ขวบ ชอบฟังเสียงต่างๆ เช่น เสียงสัตว์  ยานพาหนะ  เครื่องใช้ในครัวเรือน ชอบฟังนิทาน ฟังได้นานและฟังอย่างตั้งใจ สามารถเข้าใจภาษาพูดง่ายๆของผู้ใหญ่ ทั้งคำถามและปฏิเสธ ชอบทดลองทำเสียงเหมือน เช่น เสียงรถยนต์  รถไฟ
       อายุ 4 ขวบ  ฟังเรื่องได้นานขึ้น เริ่มตีความหมายเรื่องที่ฟัง เช่น ถามคำถามหรือต่อเรื่องได้ วัยนี้สามารถปฏิบัติตามคำสั่งง่ายๆได้ ชอบฟังเรื่องซ้ำๆและสามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงได้
       อายุ 5 ขวบ  ชอบฟังนิทาน เพลง เล่นภาษา เช่น คำคล้องจอง สามารถเข้าใจคำพูดข้อความยาวๆได้ ความเข้าใจทำให้เด็กวัยนี้พูดเก่งและจำแม่น
       อายุ 6 ขวบ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆรอบตัวได้ และเข้าใจ ถ้าไม่ซับซ้อนเกินไป
       กิจกรรมการฟัง ที่ครูควรจัดได้แก่ การฟังนิทาน ฟังคำสั่ง ฟังการจำแนกเสียงลักษณะของการจัดกิจกรรมอาจนำไปสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆหรือจัดแยกเป็นกิจกรรมอิสระก็ได้

ที่มา  http://soavaluc.igetweb.com/articles/442861/กิจกรรมพัฒนาการฟังสำหรับเด็กปฐมวัย.html

บทความที่ 4  บทความสื่อ: ประโยชน์ของนิทาน เพลง คำคล้องจอง

  โดย: สดใส โชติกเสถียร

      จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้อยู่ที่สมอง
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้เชื่อว่าหลายคงเคยได้ยินเรื่องสมองมาบ้าง คนส่วนใหญ่ชอบเปรียบเทียบว่า สมองของเด็กเมื่อครบกำหนดคลอดเปรียบเสมือนฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นฮาร์ดแวร์ที่มีคุณภาพต่อเมื่อเด็กได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งแวดล้อมเปรียบเสมือนซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนั่นเอง สมองของเด็กจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ซึ่งจะทำให้สมองมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อขึ้นอีกจำนวนมากมาย ยิ่งสมองมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อมากขึ้นเท่าไหร่ เด็กก็จะฉลาดขึ้นมีความสามารถมากขึ้นเท่านั้น

สมองเริ่มพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกเดือนของระยะตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์เริ่มเข้าสู่เดือนที่ห้าโครงสร้างแต่ละส่วนของสมองเริ่มสมบูรณ์ ผิวของทารกไวต่อการสัมผัส ทารกเริ่มควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อได้ ในเดือนที่หกและเจ็ดสมองมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจำนวนเซลสมอง ใยสมองและจุดเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น แต่ผิวสมองยังไม่มีรอยหยักยังคงราบเรียบ เข้าสู่ระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์สมองเริ่มมีรอยหยักมากขึ้นเพื่อรับข้อมูล เซลล์สมองและวงจรประสาททำงานประสานกันอย่างสมบูรณ์

ในปัจจุบันมีข้อมูลความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของสมองกับการพัฒนาเด็ก สมองแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ต่างกัน อาทิ สมองส่วนหลังจะเป็นส่วนที่ควบคุมการมองเห็น สมองส่วนกลางควบคุมเรื่องการฟัง การรับรู้กลิ่นและการสัมผัส สมองส่วนหน้าควบคุมการเคลื่อนไหว และการคิด กล่าวก็คือสมองควบคุมประสาทสัมผัสทั้งห้าหรือประสาทรับรู้ขั้นพื้นฐานนั่นเอง เก้าเดือนของการตั้งครรภ์ประสาทสัมผัสด้านต่างๆก็เริ่มพัฒนา และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สมองส่วนใดพัฒนาเมื่อไหร่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้ เนื่องจากการตอบสนองการกระตุ้นสมองในช่วงที่กำลังพัฒนาจะยิ่งทำให้ใยประสาทส่วนที่ได้ใช้หนาตัวขึ้นสมองยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากไม่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมสมองส่วนที่ไม่ได้ใช้ก็จะถูกตัดทอนลง

ช่วงเวลาใดที่สมองพัฒนา
ทารกสามารถรับรู้รส เมื่อ 14 สัปดาห์ในครรภ์ ความสามารถด้านการฟังเริ่ม เมื่อ 16 สัปดาห์ 20 สัปดาห์ในครรภ์สามารถตอบสนองต่อเสียงนอกมดลูก สัปดาห์ที่ 24 เริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก 28 สัปดาห์เริ่มมีปฎิกิริยาต่อแสงและความสามารถด้านการจำก็เริ่มพัฒนาขึ้นด้วย ถ้าใครเคยมีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ต้องเคยได้รับคำแนะนำจากคุณหมอเช่นเดียวกับผู้เขียน และขอถือโอกาสเล่าให้คนที่ไม่มีประสบการณ์ฟังถึงสิ่งที่คุณหมอแนะนำ คือ ให้พ่อแม่หมั่นพูดคุยกับทารกในท้อง เปิดเพลง หรือร้องเพลงให้ทารกฟังเป็นประจำ เป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสด้านการฟัง ในช่วงนั้นเวลาขับรถ ผู้เขียนก็จะเป็นเปิดเพลงบรรเลงที่มีจังหวะและทำนองทำให้ตนเองเพลิดเพลินไม่ง่วง ช่วงเย็นหลังเลิกงานเป็นเวลาที่ต้องการพักผ่อนก็จะฟังเพลงบรรเลงกีต้าร์คลาสสิกเบาๆ พอประมาณ เดือนที่ 7 ก็มีกิจกรรมส่องไฟฉาย บริเวณผนังหน้าท้อง ช่วงนี้ครรภ์จะมีขนาดใหญ่ ผนังหน้าท้องขยายทำให้แสงส่องผ่านไปถึงทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นการกระตุ้นการมองเห็นของทารก ปฏิกิริยาตอบสนองว่าทารกมองเห็นคือจะดิ้นหนีแสงไฟที่รบกวน ผู้เขียนทำเช่นนี้จนคลอด และหลังคลอดกิจกรรมยังคงมีอย่างต่อเนื่องคือการฟังดนตรี สิ่งมหัศจรรย์ที่พบคือ ลูกเป็นเด็กเลี้ยงง่ายกินอิ่มเปิดดนตรีบรรเลงให้ฟังเบาๆ ก็หลับ จะตื่นอีกทีเมื่อหิว นอนหลับช่วงกลางคืนเป็นเวลานานไม่ร้องกวนกลางดึก อีกสิ่งที่ลูกทำได้ตั้งแต่เดือนแรกคือขณะนอนคว่ำสามารถพลิกศีรษะไปทางซ้ายและขวาได้เอง มีพัฒนาการด้านร่างกายเร็วกว่าเด็กวัยเดียวกันเดินได้เองเมื่อ 10 เดือน เมื่อลูกอายุ 5 ขวบมีทักษะด้านการฟัง จำแนกแยกแยะเสียงที่ได้ยินดีมาก เสียงอะไรเบาๆก็ได้ยิน บางครั้งฟังเพลง 1 – 2 รอบก็สามารถฮัมทำนองเพลงได้ถูกจังหวะ ไม่ผิดคีย์ และหลายครั้งที่ดูหนังซึ่งจะมีเสียงดนตรีประกอบเบาๆไม่มีเนื้อร้อง ซึ่งผู้ใหญ่อย่างเราแทบไม่ได้ยินเนื่องจากไม่ได้สนใจเพราะมีสมาธิอยู่ที่เนื้อเรื่อง แต่ลูกกลับฮัมทำนองตามหรือพูดว่าเพลงนี้หนูเคยได้ยินที่....... ประสบการณ์ตรงที่ผู้เขียนนำมาเล่ายืนยันให้เห็นว่า ประสาทรับรู้ขั้นพื้นฐานถ้าได้รับการกระตุ้นตั้งแต่ในครรภ์จะส่งผลต่อพัฒนาการในวัยต่อมา

ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง กล่าวว่า ใยประสาทสร้างมาจำนวนมากก่อนการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ง่าย คือถ้าคนไหนมีเครื่องมือในการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพย่อมเรียนรู้ได้อย่างดี หัวใจสำคัญในการพัฒนาเด็กคือทำอย่างไรให้เด็กมีเครื่องมือในการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพ สอนอย่างไรให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกเพลิดเพลินสอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย สิ่งที่จะกล่าวต่อไปบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กจำเป็นจะต้องรู้ เนื่องจากการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กควรทำให้สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่ควบคุมพัฒนาการด้านต่างๆ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี

ที่มา http://www.la-orutis.dusit.ac.th/research4.php

บทความที่ 5 ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของสื่อ

        การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก ปัจจัยหนึ่ง ที่จะขาดไม่ได้ก็คือ..... สื่อประกอบการจัดกิจกรรม เพราะสื่อมี บทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ เจตคติ ค่านิยม รวมทั้งทักษะต่างๆ การเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม และมี ประสิทธิภาพรวมทั้งต้องรู้จักวิธีการเก็บรักษาสื่อ
สำหรับเนื้อหาในตอนนี้มีสาระที่น่าสนใจดังนี้
3.1 ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของสื่อ
3.2 วิธีการเลือกใช้สื่อสำหรับเด็กและข้อควรระวังในการใช้สื่อ
3.3 การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ



ความหมายของสื่อ
สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยใน การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่ ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเกิดการเรียนรู้ตาม จุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด



ความสำคัญของสื่อ
1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ “เรียน”
4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน

ประเภทของสื่อ สื่อการสอนแบ่งได้ 3 ประเภทคือ
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ



        อย่างไรก็ดีสื่อการสอนดังกล่าวแม้จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย แต่การจะใช้สื่อการสอนสำหรับเด็ก ปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม กับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระ การสอนที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และจิตใจของเด็กปฐมวัย อีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

ที่มา https://www.l3nr.org/posts/260089

บันทึกครั้งที่ 15 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2557

บันทึกการเรียน

จัดนิทรรศการสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 
             ของ นักศึกษาชั้นปีที่ 2





ผลงานของนักศึกษา













เดินชมและถ่ายรูปกับผลงาน









สิ่งที่ได้รับ

งานที่เกิดจากการตั้งใจของนักศึกษาออกมาตามความตั้งใจของตัวเอง และการจัดนิทรรศการสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของเพื่อนทุกคน รู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบ และความเสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวม สื่อต่างได้มอบให้กับเด็กๆเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของเขา และ ขอขอบคุฯอาจารย์ที่สอนให้ทำสื่อต่างๆได้ง่ายและสวยงาม ขอขอบคุฯนะคะ อาจารย์บาส.